ต้นหางนกยูง
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Caesalpinia
pulcherrima (L.) Sw.
วงศ์
: Leguminosae -
Caesalpinioideae
ชื่อสามัญ
: Flower fence,
Peacock's crest, Pride of Barbados
ชื่ออื่น
: ขวางยอย (นครราชสีมา) จำพอ ซำพอ (แม่ฮ่องสอน) ซมพอ พญาไม้ผุ ส้มผ่อ ส้มพอ (ภาคเหนือ) นกยูงไทย หางนกยูงไทย
(ภาคกลาง) หนวดแมว (ฉาน-แม่อ่องสอน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
: ไม้พุ่มเตี้ยชนิดหนึ่ง สูง 3-5 เมตร ทรงพุ่มกลม ต้นเกลี้ยงหรือมีหนาม ใบ
ประกอบแบบขนนกสองชั้น ออกสลับ ช่อใบย่อยมีใบย่อย 7-11 คู่ รูปขอบขนาน
หรือรูปไข่กลับ ปลายมนหรือเว้า โคนเบี้ยว ดอก มีหลายสีตามพันธุ์ ได้แก่ เหลือง แดง
ส้ม ชมพูแก่ แดงประขาว ดอกเป็นช่อ ตามซอกใบและปลายกิ่ง กลีบดอก 5 กลีบ
ขนาดไม่เท่ากัน เกสรตัวผู้ 10 อัน ออกดอกตลอดปี ผล เป็นฝักแบน เมื่อแก่แตกได้
ออกฝักตลอดปี เมล็ด 8-10 เมล็ด
เมล็ดมีรูปร่างกลม มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้
หมู่เกาะเวสต์อินดีส ขึ้นได้ทั่วไป สำหรับประเทศไทยพบทุกภาค
ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่ง เพาะเมล็ด
ประโยชน์
: นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ทางด้านสมุนไพร
รากของต้นดอกสีแดง ปรุงเป็นยารับประทานขับประจำเดือน
เมล็ดในฝักรับประทานได้โดยแกะเปลือกกับเมล็ดซึ่งมีรสฝาดทิ้งไป
เนื้อในมีรสหวานมันเล็กน้อย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น