ต้นมะขาม
ชื่อวิทยาศาสตร์
Tamarindus
indica (L.)
ชื่อวงศ์
LEGUMINOSSAE
ชื่อสามัญ Tamarin
ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ มะขาม , มะขามไทย ( ภาคกลาง ) , ตะลบ ( นครศรีธรรมราช ), ม่วงโคล้ง ( กาญจนบุรี )
ถิ่นกำเนิด เป็นพื้นพรรณไม้พื้นเมืองของทวีปแอฟริกา แถบประเทศซูดาน
การระจายในประเทศไทย ภาคเหนือ อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบรูณ์
และบางจังหวัดของภาคกลาง
ในประเทศอื่นๆ ประเทศซูดาน
ประเทศอินเดีย เปอร์เซีย เอเชียตะวันออก
นิเวศวิทยา ขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิดแม้แต่ดินลูกรัง
เจริญในดินร่วน ทนแล้งได้ดี ฤดูที่เหมาะสมคือฤดูฝน
เวลาออกดอก 1 ปี
มะขามจะออกดอกและบานประมาณ 5-10 ชุด ระยะเวลาไม่เกิน 2 เดือน
เวลาขยายผล
นับตั้งแต่ออกดอกฝักจะใช้เวลา 6 เดือน
จะเป็นฝักดิน
การขยายพันธุ์ ทาบกิ่ง , ติดตา , ตอนกิ่ง
การใช้ประโยชน์ เป็นสรรพคุณทางยา เช่น เป็นยาระบาย ขับพยาธิไส้เดือน ขับเสมหะ
และมีคุณค่าทางโภชนาการ
ยอดอ่อนและฝักอ่อนมีวิตามิน เอ มาก มะขามเปียกรสเปรี้ยว ทำให้ชุ่มคอ
ลดความร้อนของร่างกายได้ดี และอุดมด้วยกรดอินทรีย์ มีคุณสมบัติชำระล้างความสกปรกรูขุมขน
คราบไขมันบนผิวหนังได้ดีมากลและเนื้อไม้ปลูกเป็นไม้ประดับ และให้ร่มเงา ทำเป็นเครื่องการเกษตร
คุณค่าทางโภชนาการ
ยอดอ่อนและฝักอ่อนมีวิตามิน เอ มาก มะขามเปียกรสเปรี้ยว ทำให้ชุ่มคอ
ลดความร้อนของร่างกายได้ดี เนื้อในฝักมะขามที่แก่จัด เรียกว่า “มะขามเปียก” ประกอบด้วยกรดอินทรีย์หลายตัว
เช่น กรดทาร์ททาร์ริค กรดซิตริค เป็นต้น ทำให้ออกฤทธิ์ ระบายและลดความร้อนของร่างกายลงได้
แพทย์ไทยเชื่อว่า รสเปรี้ยวนี้จะกัดเสมหะให้ละลายได้ด้วย
คติความเชื่อ
: ตามตำราพรหมชาติฉบับหลวง
ถือว่ามะขามเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งที่ควรปลูกไว้ทางทิศตะวันตก (ประจิม) ของบ้าน
เพื่อป้องกันสิ่งไม่ดี ผีร้ายมิให้มากล้ำกลาย
อีกทั้งต้นมะขามยังเป็นต้นไม้ที่มีชื่อเป็นมงคลนาม
ถือกันเป็นเคล็ดว่าจะทำให้มีแต่คนเกรงขาม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น