วันพุธที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ต้นสะเดา


ต้นสะเดา

ชื่อวิทยาศาสตร์   Azadirachta  induca A. Juss var. siamensis  Valeton
ชื่อวงศ์   MELIACEAE
ชื่อสามัญ  Siamese neemtee, Nim , Margasa ,Quinine
ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ  ภาคเหนือ สะเลียม,ภาคใต้ กะเดา
ถิ่นกำเนิด  ประเทศอินเดีย
การกระจายในประเทศไทย   กระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ  พบในป่าเบญจพรรณแล้งแลป่าแดง
นิเวศวิทยา    สะเดาเจริญงอกงามในที่มีอากาศร้อนชื้น  มีอุณหภูมิสูง
เวลาออกดอก    เดือนธันวาคมถึงมีนาคม
เวลาขยายผล     เดือนมีนาคมถึงมีนาคม
การขยายพันธุ์    เพาะเมล็ด  ปักชำ  ตอนกิ่ง
การใช้ประโยชน์  สารสกัดจากเมล็ดใช้ทำสารกำจัดแมลงต่างๆสกัดน้ำมัน  เมล็ดสะเดา สามารถให้น้ำมันประมาณ 40% ปลูกเพื่อเป็นแนวกั้นลมและให้ร่มเงา เนื่องจากมีใบหนา รากลึก ทนแล้ง ทนติดเค็มและผลัดใบในเวลาสั้น
ลักษณะวิสัย  : ไม้ต้น

ต้นประดู่


ต้นประดู่

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Plerocarpus Indicus
ชื่อวงศ์ : FABACEAE
ชื่อสามัญ : Padauk
ชื่ออื่นๆ : Burmese Rosewood, ประดู่ , ดู่บ้าน , สะโน (ภาคใต้)
ถิ่นกำเนิด : ประเทศอินเดีย
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด
ประวัติและข้อมูลทั่วไป :ประดู่เป็นพรรณไม้ของอินเดีย ชอบแสงแดดจัดดังนั้นจึงเห็นปลูกกันตามริมถนนใน กทม. ทั่วไปลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :ประดู่เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีลำต้นสูงประมาณ 25 เมตร ใบจะออกรวมกันเป็นช่อ ลักษณะของใบเป็นรูปมนรี ปลายใบแหลม ถ้าขึ้นในที่แล้งจะผลัดใบก่อนออกดอก ดอกออกเป็นช่อมีสีเหลืองสดลักษณะคล้ายดอกถั่ว โคนกลีบเลี้ยงกลีบดอกติดกันเป็นกรวยโค้งเล็กน้อย กลีบดอกมี 5 กลีบ มีขนาดดอกเล็ก ขณะดอกย่อยบานมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาร 0.5- 1 ซม. ดอกบานไม่พร้อมกัน มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ดอกที่ใกล้โรยจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมน้ำตาล ฤดูดอกบานอยู่ในช่วง เดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม
การปลูกและดูแลรักษา :ประดู่เป็นไม้กลางแจ้งต้องการแสงแดดจัด ความชื้นสูง ต้องการน้ำปานกลาง สามารถขึ้นได้ในดินทุกชนิด แต่จะให้ดีควรเป็นดินร่วนซุย
การเป็นมงคล :คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นประดู่ไว้ประจำบ้านจะทำให้เกิดพลังแห่งความยิ่งใหญ่เพราะ ประดู่ คือ ความพร้อม ความร่วมมือ ร่วมใจสามัคคี มีพลังเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน นอกจากนี้ดอกของประดู่ยังมีลักษณะที่ระดมกันบานเต็มต้นดูลานตา ดังนั้นคนโบราณจึงได้เลือกเอาต้นประดู่เป็นไม้ประจำกอง กองทัพเรือ และคนไทยโบราณยังเชื่ออีกว่า ส่วนของแก่นไม้ยังใช้เป็นศิลปะการดนตรี ที่สำคัญของคนพื้นเมืองในสมัยโบราณอีกด้วย คือใช้ทำเป็นเครื่องเสียงพวกระนาด นั่นก็หมายถึง ความแข็งแกร่ง แข็งแรง



ต้นอโศก

ต้นอโศก

ชื่อวิทยาศาสตร์ Polylthia longifolia  (Benth) Hook. F. var.
ชื่อวงศ์  ANNONACEAE.
ชื่อสามัญ  The Mast Tree
ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ  อโศกเซนต์คาเบรียล , อโศกอินเดีย
ถิ่นกำเนิด  ประเทศอินเดียและศรีลังกา
การกระจายพันธ์ : ในประเทศไทย   ทั่วทุกภาคของประเทศไทย
 ในประเทศอื่นๆ   ประเทศอินเดียและศรีลังกา
นิเวศวิทยา  ขึ้นได้ในดินทั่วไป
เวลาออกดอก   ระหว่างเดือนมีนาคม-เดือนเมษายน
การขยายพันธุ์  ด้วยเมล็ดหรือตอนกิ่ง
การใช้ประโยชน์  ใช้เป็นไม้ประดับ
ประวัติพันธุ์ไม้(การนำเข้ามาปลูกในประเทศไทย) ภรดา ยงห์น แมรี่ เป็นผู้นำเข้ามาในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2500 จากประเทศอินเดีย



วาสนา

วาสนา

ชื่อวิทยาศาสตร์ Dracaena  fragrans (L.) Ker  Gawl.
ชื่อวงศ์  DRACAENACEAE
ชื่อสามัญ  Cape  of  Good  Hope ,  Dracaera
ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ  มังกรหยก
ถิ่นกำเนิด  เอธิโบเบีย , ไนจีเรีย , กินี
การระจายในประเทศไทย   ทุกภาค
นิเวศวิทยา  ชอบน้ำ  ชอบดินร่วนซุย
เวลาออกดอก เดือนพฤศจิกายน เดือนตุลาคม
เวลาติดดอก  เดือนกุมภาพันธ์ เดือนตุลาคม
การขยายพันธุ์  การปักชำ
การใช้ประโยชน์  ปลูกเป็นไม้ประดับอาคาร  ใบนำมาต้มกับน้ำสะอาดแล้วกรองแล้วนำมาดื่มช่วยแก้ปวดท้องได้  รากนำมาต้มกับน้ำสะอาด ช่วยบรรเทาอาการปวดในการคลอดบุตร
ลักษณะวิสัย  : ไม้พุ่ม


ต้นจั๋ง

ต้นจั๋ง

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Rhapis excelsa (Thunb.) Henry
ชื่อวงศ์:  Arecaceae (PALMAE)
ชื่อสามัญ:  lady palm, Bamboo palm, Ground
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  เป็นไม้พุ่มสูง 10-15 ฟุต ลำต้นมีขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 2 นิ้ว มี การแตกหน่อ มองดูเป็นกอเหมือนกอไผ่ ลำต้นแข็งเหนียว คล้ายหวาย
    ใบ  มีแผ่นใบหยาบ ๆ สีน้ำตาลเข้มคลุมบาง ๆ ใบเป็นใบประกอบ รูปฝ่ามือ มีใบย่อย 8-10 ใบ สีเขียวเป็นมัน แผ่เป็นครึ่งวงกลม ก้านใบเรียบเป็นมัน ปลายใบทู่ ดอกช่อ ออกตามซอกใบบริเวณปลายยอด
    ดอก  ดอกเป็นช่อ ออกตามยอดระหว่างทางใบ ดอกเป็นดอกไม่สมบูรณ์เพศแบบแยกกันอยู่คนละต้น ดอกเพศเมียจะมีผลติด เป็นพวงสั้น ๆ
    ฝัก/ผล  ขนาดเล็กกลม สีเขียวอ่อนอมเหลือง เมื่อแก่สีคล้ำและมีสีชมพูอ่อน ๆ มีเมล็ดเดียว
การปลูก:  เป็นไม้กระถางประดับภายในอาคารหรือปลูกประดับนอกอาคาร
การดูแลรักษา:  ชอบแสงแดดมาก ต้องการน้ำพอประมาณ เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย
การขยายพันธุ์:  เพาะเมล็ด แยกหน่อ
การใช้ประโยชน์:  ไม้ประดับ
ถิ่นกำเนิด:  ไทย จีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย

*มีความสามารถสูงในการลดมลพิษในอากาศ โดยเฉพาะแอม โมเนียและฟอร์มาลดีไฮด์



อินทนิล


อินทนิล

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ :   Lagerstroemia speciosa (L.) Pers.
ชื่อโดยทั่วไป:   Queen’s crape myrtle , Pride of India (ชื่อนี้บอกถิ่นที่มาของพืชชนิดนี้ได้เป็นอย่างดี)
ชื่อวงศ์ :   LYTHRACEAE
ชื่อตามภูมิภาค :   ฉ่วงมู  ฉ่องพนา (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) ตะแบกดำ (กรุงเทพฯ)  บางอบะซา (มลายู-ยะลา, นราธิวาส) บาเย  บาเอ (มลายู-ปัตตานี) อินทนิล (ภาคกลาง, ใต้)
ลักษณะของต้นอินทนิล:
ลำต้น  เป็นไม้ยืนต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 5-20 เมตร ลำต้น ต้นเล็กมักคดงอ แต่พอใหญ่ขึ้นจะค่อยๆตรง โคนต้นไม้ไม่ค่อยพบพูพอน มักจะมีกิ่งใหญ่แตกจากลำต้นสูงเหนือพื้นดินขึ้นมาไม่มากนัก ดังนั้น เรือนยอดจึงแผ่กว้าง พุ่มแบบรูปร่มและคลุมส่วนโคนต้นเล็กน้อยเท่านั้น  ผิวเปลือกนอกสีเทาหรือน้ำตาลอ่อน และมักจะมีรอยด่างเป็นดวงสีขาวๆ ทั่วไป
ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อย ทรงใบรูปขอบขนานหรือบางทีเป้นรูปขอบขนานแกมรูปหอก  กว้าง 5-10 ซม. ยาว 11-26 ซม. เนื้อใบค่อนข้างหนา เกลี้ยง เป็นมันทั้งสองด้าน โคนใบมนหรือเบี้ยวเยื้องกันเล็กน้อย ปลายใบเรียวและเป็นติ่งแหลม เส้นแขนงใบ มี 9-17 คู่ เส้นโค้งอ่อนและจะจรดกับเส้นถัดไปบริเวณใกล้ๆ ขอบใบเส้นใบย่อยเห็นไม่เด่นชัดนัก ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นบ้างเล็กน้อย ก้านใบยาวประมาณ 1 ซม. เกลี้ยง ไม่มีขน
ดอก ดอกของอินทนิลจะมีสีต่างๆ กัน เช่น สีม่วงสด ม่วงอมชมพู หรือม่วงล้วนๆ ออกรวมกันเป็นช่อโต มีความสวยงามตามะรรมชาติ ยาวถึง 30 ซม. ตามปลายกิ่งหรือตามง่ามใบตอนใกล้ๆ ปลายกิ่ง ตรงส่วนบนสุดของดอกตูมจะมีตุ่มกลมเล็กๆ ตั้งอยู่ตรงกลาง ผิวนอกของกลีบฐานดอกซึ่งติดกันเป็นรูปถ้วยหรือรูปกรวยหงายจะมีสันนูนตามยาวปรากฎชัด



ชงโค


ต้นชงโค

ชื่อวิทยาศาสตร์: Bauhinia purpurea L.
ชื่อสามัญ: Purple Orchid Tree, Hong Kong Orchid Tree, Purple Bauhinia
ชื่ออื่น: เสี้ยวดอกแดง (ภาคเหนือ), เสี้ยวหวาน (แม่ฮ่องสอน)           
วงศ์LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:
ไม้ต้น สูงได้ถึง 10 ม. ผลัดใบช่วงสั้นๆ
 ใบ ใบเรียงสลับ ใบเดี่ยว รูปมนเกือบกลม กว้าง 8-10 ซม. ยาว 10-14 ซม. ปลายใบแยกเป็น 2 พู โคนใบมนหรือเว้า ขอบใบเรียบ สีเขียว
 ดอก ดอกช่อออกตามซอกใบและปลายกิ่ง กลีบดอก 5 กลีบ สีชมพูถึงม่วงเข้ม รูปรีกว้างตรงส่วนกลาง เมื่อบานวัดเส้นผ่านศูนย์กลางได้ 6-8 ซม. เกสรเพศผู้ 5 อัน เกสรเพศเมีย 1 อันอยู่ตรงกลางดอก รังไข่มีขน ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกดอกเป็นช่วงๆ ตลอดปี
ผล ผลเป็นฝักแบน กว้าง 1.5-2.5 ซม. ยาว 20-25 ซม. เมื่อแก่แตกเป็นสองซีก เมล็ดกลม มี 10 เมล็ด




ข่อย


ต้นข่อย

ชื่อวิทยาศาสตร์ Streblus  asper  Lour.
ชื่อวงศ์  MORACEAE
ชื่อสามัญ  siamese  rough  bush, Tooth  brush Treo
ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ  ภาคเหนือ กักไม้ฝอย,แม่ฮ่องสอน ซะโยเส่,ร้อยเอ็ด  ส้มพอ,เขมร สะนาย
ถิ่นกำเนิด   เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
การกระจายในประเทศไทย   -
นิเวศวิทยา  แดดจัดหรือกลางแจ้ง  ดินร่วนซุย
เวลาออกดอก    มกราคม-กุมภาพันธ์
เวลาติดผล        กุมภาพันธ์-เมษายน
การใช้ประโยชน์          กิ่ง ใช้ในการแปรงสีฟันได้  แต่ต้องทุบให้นิ่มๆก่อน
                                    เปลือก  สามารถรักษาแผล  แก้ท้องร่วง  ดับพิษภายใน
                                    ยาง  มีน้ำย่อยชื่อ milk (lotting  enyme) ใช้การย่อยน้ำนม
                                    ราก สามารถนำมารักษาแผลได้
                                    เมล็ด  นำมารับประทานเป็นยาอายุวัฒนะได้ และทำให้เจริญอาหาร





พิกุล


ต้นพิกุล

ชื่อวิทยาศาสตร์   Mimusops   elengi  Linn.
ชื่อวงศ์                   SAPOTACEAE
ชื่อสามัญ               Bullet  wood
ชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ         กุน (ภาคใต้) แก้ว (ภาคเหนือ)  ซางดง  (ลำปาง พิกุลป่า  (สตูล)
ถิ่นกำเนิด              ประเทศที่มีอากาศร้อน
การกระจายพันธุ์ :   ในประเทศไทย   เพาะเมล็ด  ตอนกิ่ง
นิเวศวิทยา   เป็นต้นไม้ที่ทนสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดี  เป็นไม้ที่โตช้า  อายุยืน  ไม่ผลัดใบ
เวลาออกดอก        ตลอดปี
เวลาติดผล             ตลอดปี
การขยายพันธุ์      เพาะเมล็ด   การตอนกิ่ง
การใช้ประโยชน์                 เนื่องจากพิกุลเป็นไม้ขนาดใหญ่ของประเทศใช้ในการก่อสร้าง  ทำเฟอร์นิเจอร์  ลำต้นมีเชื้อราทำให้เกิดเป็นโรค  เนื้อไม้และมิกโค่นล้านง่าย  เมื่อมีพายุในต้นที่มีอายุมากบางต้านพบว่า  เนื้อไม้มีกลิ่นหอม  เรียกว่า  ขวนดอก  เกิดจากเชื้อราบางตัว  ของขวนตัวก็นำมาเป็นส่วนประกอบของยาหอมได้เช่นเดียวกับดอกพิกุล



ไทร



ไทร

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ficus benjamina Linn.
ชื่อวงศ์ : MORACEAE
ชื่ออื่น : ไทร, ไทรกระเบื้อง, ไทรย้อยใบแหลม
รูปลักษณะ : ไทรย้อย เป็นไม้ยืนต้น สูงได้ถึง 10 เมตร มีรากอากาศ
น้ำยางขาว ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรี รูปใบหอกหรือรูปไข่แกมวงรี กว้าง
1.5-6 ซม. ยาว 3-12 ซม. ดอกช่อ เกิดภายในฐานรองดอก ที่มีรูปร่างกลมคล้ายผล
ออกเป็นคู่ที่ซอกใบ แยกเพศอยู่ในช่อเดียวกัน ผลสด รูปกระสวย รูปไข่
รูปไข่กลับหรือรูปค่อนข้างกลม เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลือง
ส้มและแดงเข้มตามลำดับ
ถิ่นกำเนิด:  ในอินเดียและภูมิภาคมาเลเซีย
สรรพคุณทางยา:  รากอากาศเป็นยาขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ  บำรุงน้ำนม


สนฉัตร


ต้นสนฉัตร

ชื่อสามัญ :Norfolk Island Pine, House Pine
ชื่อพื้นเมือง :สนฉัตร
ชื่อวิทยาศาสตร์ :Araucaria cookii    R.Br. ex D.Don.
ชื่อวงศ์ :ARAUCARIACEAE
ลักษณะ
ต้น :เป็นไม้ยืนต้น มีขนาดกลางหรือเล็ก กิ่งแตกออกเป็นรัศมีเดียวกัน มีรูปร่างคล้ายฉัตรเป็นชั้นๆ จนถึงโคน ตอนโคนต้นมีชั้นใหญ่และเล็กจนถึงยอดใบ
ใบ :ใบมีสีเขียวแก่ เป็นเกล็ดเล็ก ๆ รวมกันเป็นแผงใหญ่ กิ่งเป็นเส้นยาว ขอบใบมีลักษณะคล้ายหนามเรียงสลับสามเกล็ดมีขนาดเล็ก
ดอก :ไม่มีดอก
ผล :ไม่มีผล
เมล็ด :ต้นสนจะมีไมโครสปอโรฟิลล์ แบ่งเซลล์แบบไมโอซิสได้ 4 เซลล์ มีนิวเคลียสขนาดใหญ่และปลิวไปตามลมเจริญเป็นเมกะสปอแรงเจียม สเปิร์มผสมกับไข่ได้ไซโกต เจริญเป็นเอมบริโอ
การกระจายพันธุ์ มีถิ่นกำเนิดจากแอฟริกาใต้
การขยายพันธุ์ ใช้เมล็ดขยายพันธุ์ แต่ในเมืองไทยยังไม่มีใครเพาะเมล็ดได้



สนมังกร



สนมังกร

ชื่อวิทยาศาสตร์: Juniperus chinensis sp.
วงศ์: Cupressaceae
ประเภท: ไม้ต้นขนาดกลางถึงใหญ่
ความสูง: 5-10 เมตร
ลำต้น: คล้ายสนมังกรญี่ปุ่น แต่พุ่มแผ่กว้างกว่า ลักษณะต้นผันแปรได้ง่าย กิ่งบิดเวียนรอบต้น
ใบ: คล้ายเกล็ดเรียงซ้อนกัน สีเขียวเข้มถึงเขียวอมเหลือง
ดอก: เมื่อแก่คล้ายผล สีเขียวเทา
อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว
ดิน: ดินทั่วไปที่มีอินทรียวัตถุ ระบายน้ำและอากาศได้ดี
น้ำ: ปานกลาง ทนแล้ง
แสงแดด: เต็มวัน ทนอากาศร้อน
ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง
การใช้งานและอื่นๆ: เป็นพันธุ์ที่นำเข้ามาปลูกเลี้ยงนานแล้ว จึงไม่ทราบชื่อพันธุ์แน่ชัด นิยมใช้จัดสวน เพราะทนอากาศร้อนได้ดี แต่ไม่ทนน้ำขังแฉะ


ต้นพญาสัตบรรณ


ต้นพญาสัตบรรณ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Alstonia scholaris  (L.) R. Br.
วงศ์ APOCYNACEAE
ชื่อสามัญ White Cheesewood
ชื่ออื่น ตีนเป็ด หัสบัน สัตบรรน จะบัน บะซา
ไม้ต้น  ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15 - 35 เมตร โคนต้นมักเป็นพูพอน
เปลือก  สีเทาอ่อนหรือเทาอมเหลือง ค่อนข้างหนา
ใบ  ใบเดี่ยวเรียงกันเป็นวง 4 - 7 ใบ แผ่นใบรูปมนแกมรูปไข่กลับ ปลายแหลมเป็นติ่งเล็กน้อยโคนสอบ เข้าหากันเป็นรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ
ดอก  ดอกเล็ก สีเขียวอมเหลือง หรืออมขาวออกเป็นกลุ่มในช่อซึ่งแยกกิ่งก้าน       ออกจากจุดเดียวกันตามปลายกิ่ง
ผล  เป็นฝักเรียว ยาว 10 - 20 เซนติเมตร เมล็ดแบบทรงบรรทัดแคบ ๆ ยาว ประมาณ 7มิลลิเมตร มีขนยาวอ่อนนุ่มปุกปุยติดอยู่เป็นกระจุกที่ปลายทั้งสองข้าง


ต้นปาล์ม

ต้นปาล์ม
ชื่อวิทยาศาสตร์: Prichardia Pacifica Seem. & H.A. Wendl.
ชื่อวงศ์: PALMAE
ลักษณะวิสัย: ปาล์ม
ถิ่นกำเนิด: ถิ่นกำเนิดอยู่ในทะเลแปซิฟิก และเกาะฟิจิ
ลักษณะทั่วไป: เป็นปาล์มที่มีลำต้นเดี่ยว  สูงประมาณ 30 ฟุต  ลำต้นจะตั้งตรง  เกลี้ยงเรียว ใบเป็นรูปพัดมีสีเขียวอ่อน  และเป็นมัน  ใต้ใบเป็นสีเงินนิด ๆ ขนาดของใบ
กว้างประมาณ 5 ฟุต ทางใบยาว 3 ฟุต ออกดอกเป็นช่อ ๆ ดอกสีเหลืองอมน้ำตาล  ช่อหนึ่งจะมีดอกเป็นจำนวนมาก  แต่เป็นดอกที่ไม่สมบูรณ์เพศ  ผลจะกลม  มีขนาดเล็ก
ประมาณ 1 เซนติเมตร  ในเวลาที่ผลสุกจะมีสีดำ ข้างในผลจะมีเมล็ด
การกระจายพันธุ์: เป็นไม้กลางแจ้ง  เมื่อต้นเล็กชอบแสงแดดรำไร  แต่พอโตขึ้นสามารถอยู่กลางแดดได้เป็นปาล์มที่ต้องการน้ำมาก  แต่ไม่ชอบที่แฉะ  ปลูกในดินร่วนผสม
พิเศษ  เหมาะที่จะปลูกไว้ในสถานที่อาณาเขตกว้าง ๆ มากกว่าที่จะปลูกไว้ในกระถาง  เพราะมีใบใหญ่มาก
การขยายพันธุ์: โดยการเพาะเมล็ด
ประโยชน์:ใช้เป็นไม้ประดับสวน  ทั่วไป