วันอาทิตย์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ต้นหมาก

ต้นหมาก
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Areca catechu Linn
วงศ์ : PALMAE
ชื่อสามัญ : Betel nut , Areca palm
ลักษณะทางพฤกษ์ศาสตร์:
เป็นพืชยืนต้น มีลำต้นตรง ไม่แตกกิ่งก้าน สูง 5-15 เมตร ลำต้นเดี่ยวแข็งแรง ลำต้นมีสีเขียวบริเวณ
ใกล้ส่วนยอด และเมื่ออายุมากขึ้นลำต้นจะเปลี่ยนเป็นสีเทา ใบยาวถึง 4 เมตร และมีใบฝอยหลายใบ
แต่ละใบยาวประมาณ 60-90 ซม. ดอกหมากจะขึ้นที่ซอกโคนก้านใบ ดอกรวมเป็นช่อใหญ่ ดอกมี
สีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอมหวานเย็น ผลมีลักษณะกลมหรือรี ผลอยู่รวมกัน 50-100 ผลใน 1 ทะลาย
ผลอ่อนสีเขียวเรียกว่าหมากดิบ เมื่อผลสุกจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวอมเหลืองเรียกว่าหมากสง
ประโยชน์และสรรพคุณยาไทย:                                                         
ลูกอ่อน รสฝาดหวาน เจริญอาหาร ขับเสมหะ สมานแผล แก้เมา แก้อาเจียน แก้ไอเปลือกผลรสจืดหวาน
ขับลม ขับปัสสาวะ แก้ท้องอืดแน่น แก้บิด แก้ท้องเสียเมล็ด รสฝาด แก้บิดปวดเบ่ง แก้ปวดแน่นท้องฆ่า
พยาธิ ขับปัสสาวะ
การกระจายพันธุ์ : ถิ่นกำเนิดอยู่ในเกาะมาดากัสก้า
การขยายพันธุ์  : ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดและแยกหน่อ  ชอบแดดจัด ต้องการ
น้ำมาก  ปลูกได้ในดินทุกชนิด  ทั้งในกระถางและลงดิน



วันพุธที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ต้นสะเดา


ต้นสะเดา

ชื่อวิทยาศาสตร์   Azadirachta  induca A. Juss var. siamensis  Valeton
ชื่อวงศ์   MELIACEAE
ชื่อสามัญ  Siamese neemtee, Nim , Margasa ,Quinine
ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ  ภาคเหนือ สะเลียม,ภาคใต้ กะเดา
ถิ่นกำเนิด  ประเทศอินเดีย
การกระจายในประเทศไทย   กระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ  พบในป่าเบญจพรรณแล้งแลป่าแดง
นิเวศวิทยา    สะเดาเจริญงอกงามในที่มีอากาศร้อนชื้น  มีอุณหภูมิสูง
เวลาออกดอก    เดือนธันวาคมถึงมีนาคม
เวลาขยายผล     เดือนมีนาคมถึงมีนาคม
การขยายพันธุ์    เพาะเมล็ด  ปักชำ  ตอนกิ่ง
การใช้ประโยชน์  สารสกัดจากเมล็ดใช้ทำสารกำจัดแมลงต่างๆสกัดน้ำมัน  เมล็ดสะเดา สามารถให้น้ำมันประมาณ 40% ปลูกเพื่อเป็นแนวกั้นลมและให้ร่มเงา เนื่องจากมีใบหนา รากลึก ทนแล้ง ทนติดเค็มและผลัดใบในเวลาสั้น
ลักษณะวิสัย  : ไม้ต้น

ต้นประดู่


ต้นประดู่

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Plerocarpus Indicus
ชื่อวงศ์ : FABACEAE
ชื่อสามัญ : Padauk
ชื่ออื่นๆ : Burmese Rosewood, ประดู่ , ดู่บ้าน , สะโน (ภาคใต้)
ถิ่นกำเนิด : ประเทศอินเดีย
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด
ประวัติและข้อมูลทั่วไป :ประดู่เป็นพรรณไม้ของอินเดีย ชอบแสงแดดจัดดังนั้นจึงเห็นปลูกกันตามริมถนนใน กทม. ทั่วไปลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :ประดู่เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีลำต้นสูงประมาณ 25 เมตร ใบจะออกรวมกันเป็นช่อ ลักษณะของใบเป็นรูปมนรี ปลายใบแหลม ถ้าขึ้นในที่แล้งจะผลัดใบก่อนออกดอก ดอกออกเป็นช่อมีสีเหลืองสดลักษณะคล้ายดอกถั่ว โคนกลีบเลี้ยงกลีบดอกติดกันเป็นกรวยโค้งเล็กน้อย กลีบดอกมี 5 กลีบ มีขนาดดอกเล็ก ขณะดอกย่อยบานมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาร 0.5- 1 ซม. ดอกบานไม่พร้อมกัน มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ดอกที่ใกล้โรยจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมน้ำตาล ฤดูดอกบานอยู่ในช่วง เดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม
การปลูกและดูแลรักษา :ประดู่เป็นไม้กลางแจ้งต้องการแสงแดดจัด ความชื้นสูง ต้องการน้ำปานกลาง สามารถขึ้นได้ในดินทุกชนิด แต่จะให้ดีควรเป็นดินร่วนซุย
การเป็นมงคล :คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นประดู่ไว้ประจำบ้านจะทำให้เกิดพลังแห่งความยิ่งใหญ่เพราะ ประดู่ คือ ความพร้อม ความร่วมมือ ร่วมใจสามัคคี มีพลังเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน นอกจากนี้ดอกของประดู่ยังมีลักษณะที่ระดมกันบานเต็มต้นดูลานตา ดังนั้นคนโบราณจึงได้เลือกเอาต้นประดู่เป็นไม้ประจำกอง กองทัพเรือ และคนไทยโบราณยังเชื่ออีกว่า ส่วนของแก่นไม้ยังใช้เป็นศิลปะการดนตรี ที่สำคัญของคนพื้นเมืองในสมัยโบราณอีกด้วย คือใช้ทำเป็นเครื่องเสียงพวกระนาด นั่นก็หมายถึง ความแข็งแกร่ง แข็งแรง



ต้นอโศก

ต้นอโศก

ชื่อวิทยาศาสตร์ Polylthia longifolia  (Benth) Hook. F. var.
ชื่อวงศ์  ANNONACEAE.
ชื่อสามัญ  The Mast Tree
ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ  อโศกเซนต์คาเบรียล , อโศกอินเดีย
ถิ่นกำเนิด  ประเทศอินเดียและศรีลังกา
การกระจายพันธ์ : ในประเทศไทย   ทั่วทุกภาคของประเทศไทย
 ในประเทศอื่นๆ   ประเทศอินเดียและศรีลังกา
นิเวศวิทยา  ขึ้นได้ในดินทั่วไป
เวลาออกดอก   ระหว่างเดือนมีนาคม-เดือนเมษายน
การขยายพันธุ์  ด้วยเมล็ดหรือตอนกิ่ง
การใช้ประโยชน์  ใช้เป็นไม้ประดับ
ประวัติพันธุ์ไม้(การนำเข้ามาปลูกในประเทศไทย) ภรดา ยงห์น แมรี่ เป็นผู้นำเข้ามาในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2500 จากประเทศอินเดีย



วาสนา

วาสนา

ชื่อวิทยาศาสตร์ Dracaena  fragrans (L.) Ker  Gawl.
ชื่อวงศ์  DRACAENACEAE
ชื่อสามัญ  Cape  of  Good  Hope ,  Dracaera
ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ  มังกรหยก
ถิ่นกำเนิด  เอธิโบเบีย , ไนจีเรีย , กินี
การระจายในประเทศไทย   ทุกภาค
นิเวศวิทยา  ชอบน้ำ  ชอบดินร่วนซุย
เวลาออกดอก เดือนพฤศจิกายน เดือนตุลาคม
เวลาติดดอก  เดือนกุมภาพันธ์ เดือนตุลาคม
การขยายพันธุ์  การปักชำ
การใช้ประโยชน์  ปลูกเป็นไม้ประดับอาคาร  ใบนำมาต้มกับน้ำสะอาดแล้วกรองแล้วนำมาดื่มช่วยแก้ปวดท้องได้  รากนำมาต้มกับน้ำสะอาด ช่วยบรรเทาอาการปวดในการคลอดบุตร
ลักษณะวิสัย  : ไม้พุ่ม


ต้นจั๋ง

ต้นจั๋ง

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Rhapis excelsa (Thunb.) Henry
ชื่อวงศ์:  Arecaceae (PALMAE)
ชื่อสามัญ:  lady palm, Bamboo palm, Ground
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  เป็นไม้พุ่มสูง 10-15 ฟุต ลำต้นมีขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 2 นิ้ว มี การแตกหน่อ มองดูเป็นกอเหมือนกอไผ่ ลำต้นแข็งเหนียว คล้ายหวาย
    ใบ  มีแผ่นใบหยาบ ๆ สีน้ำตาลเข้มคลุมบาง ๆ ใบเป็นใบประกอบ รูปฝ่ามือ มีใบย่อย 8-10 ใบ สีเขียวเป็นมัน แผ่เป็นครึ่งวงกลม ก้านใบเรียบเป็นมัน ปลายใบทู่ ดอกช่อ ออกตามซอกใบบริเวณปลายยอด
    ดอก  ดอกเป็นช่อ ออกตามยอดระหว่างทางใบ ดอกเป็นดอกไม่สมบูรณ์เพศแบบแยกกันอยู่คนละต้น ดอกเพศเมียจะมีผลติด เป็นพวงสั้น ๆ
    ฝัก/ผล  ขนาดเล็กกลม สีเขียวอ่อนอมเหลือง เมื่อแก่สีคล้ำและมีสีชมพูอ่อน ๆ มีเมล็ดเดียว
การปลูก:  เป็นไม้กระถางประดับภายในอาคารหรือปลูกประดับนอกอาคาร
การดูแลรักษา:  ชอบแสงแดดมาก ต้องการน้ำพอประมาณ เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย
การขยายพันธุ์:  เพาะเมล็ด แยกหน่อ
การใช้ประโยชน์:  ไม้ประดับ
ถิ่นกำเนิด:  ไทย จีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย

*มีความสามารถสูงในการลดมลพิษในอากาศ โดยเฉพาะแอม โมเนียและฟอร์มาลดีไฮด์



อินทนิล


อินทนิล

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ :   Lagerstroemia speciosa (L.) Pers.
ชื่อโดยทั่วไป:   Queen’s crape myrtle , Pride of India (ชื่อนี้บอกถิ่นที่มาของพืชชนิดนี้ได้เป็นอย่างดี)
ชื่อวงศ์ :   LYTHRACEAE
ชื่อตามภูมิภาค :   ฉ่วงมู  ฉ่องพนา (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) ตะแบกดำ (กรุงเทพฯ)  บางอบะซา (มลายู-ยะลา, นราธิวาส) บาเย  บาเอ (มลายู-ปัตตานี) อินทนิล (ภาคกลาง, ใต้)
ลักษณะของต้นอินทนิล:
ลำต้น  เป็นไม้ยืนต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 5-20 เมตร ลำต้น ต้นเล็กมักคดงอ แต่พอใหญ่ขึ้นจะค่อยๆตรง โคนต้นไม้ไม่ค่อยพบพูพอน มักจะมีกิ่งใหญ่แตกจากลำต้นสูงเหนือพื้นดินขึ้นมาไม่มากนัก ดังนั้น เรือนยอดจึงแผ่กว้าง พุ่มแบบรูปร่มและคลุมส่วนโคนต้นเล็กน้อยเท่านั้น  ผิวเปลือกนอกสีเทาหรือน้ำตาลอ่อน และมักจะมีรอยด่างเป็นดวงสีขาวๆ ทั่วไป
ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อย ทรงใบรูปขอบขนานหรือบางทีเป้นรูปขอบขนานแกมรูปหอก  กว้าง 5-10 ซม. ยาว 11-26 ซม. เนื้อใบค่อนข้างหนา เกลี้ยง เป็นมันทั้งสองด้าน โคนใบมนหรือเบี้ยวเยื้องกันเล็กน้อย ปลายใบเรียวและเป็นติ่งแหลม เส้นแขนงใบ มี 9-17 คู่ เส้นโค้งอ่อนและจะจรดกับเส้นถัดไปบริเวณใกล้ๆ ขอบใบเส้นใบย่อยเห็นไม่เด่นชัดนัก ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นบ้างเล็กน้อย ก้านใบยาวประมาณ 1 ซม. เกลี้ยง ไม่มีขน
ดอก ดอกของอินทนิลจะมีสีต่างๆ กัน เช่น สีม่วงสด ม่วงอมชมพู หรือม่วงล้วนๆ ออกรวมกันเป็นช่อโต มีความสวยงามตามะรรมชาติ ยาวถึง 30 ซม. ตามปลายกิ่งหรือตามง่ามใบตอนใกล้ๆ ปลายกิ่ง ตรงส่วนบนสุดของดอกตูมจะมีตุ่มกลมเล็กๆ ตั้งอยู่ตรงกลาง ผิวนอกของกลีบฐานดอกซึ่งติดกันเป็นรูปถ้วยหรือรูปกรวยหงายจะมีสันนูนตามยาวปรากฎชัด